วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

รู้จัก อ. นิธิ สถาปิตานนท์

อ.นิธิ สถาปิตานนท์ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (แบบร่วมสมัย)
ประจำปี พ.ศ.2544
อ.นิธิ สถาปิตานนท์ เกิดเมื่อ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาปัตยกรรมศาตร์มหาบัณฑิตจาก มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

อ.นิธิ สถาปิตานนท์ ได้รับพระราชทานรางวัลผลงานสถาปัตยกรรมดีเด่น(เหรียญทอง)4 ครั้ง จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และรางวัลชนะเลิศการประกวดแบบทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่องและได้รับเกียรติเป็นนายกสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมป์,เลขาธิการสภาสถาปนิก, เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ The Japan Institute of Architects ฯลฯ
ด้านงานเขียน นิธิเขียนหนังสือบทความทางวิทยาการเกี่ยวกับวิชาชีพสถาปัตยกรรมเผยแพร่ในโอกาสต่างๆ ตลอดจนเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ที่
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นต้น
ผลงานด้านสถาปัตย์ของอ.นิธิ สถาปิตานนท์ จะสร้างสรรค์ในรูปแบบร่วมสมัยเสียเป็นส่วนมาก และมีหลากหลายประเภททั้งที่ทำในนามส่วนตัวและบริษัท ความโดดเด่น อยู่ที่คุณภาพอันสม่ำเสมอมากกว่าเขาจะให้ความสำคัญกับFunctionมาเป็นอันดับแรกๆ เพราะฉะนั้นรูปแบบภายนอกจึงขึ้นอยู่กับโจทย์ที่ได้มา และแสดงความชัดเจนอย่างเรียบง่าย
ผลงานในด้านการบริหาร
ประธานกรรมการ บริษัทในเครือ 49 กรุ๊ป
ประธานกรรมการ บริษัท บริษัทสถาปนิก 49 จำกัด
กรรมการผุ้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัยศิลปากร
อดีตเลขาธิการสภาสถาปนิก
อดีตนายกสมาคนสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

รู้จักกับผลงานของ อ.นิธิ สถาปิตานนท์

กระทรวงต่างประเทศ













"เราต้องตีโจทย์กันก่อนก็คือ หนึ่งงานของกระทรวงต่างประเทศ เป็นงานของทางราชการที่ต้องประกวดแบบ สองเป็นอาคารราชการที่ต้องเป็นหน้าตาของประเทศชาติ สามจะต้องเป็นสถานที่ต้อนรับแขกชาวต่างประเทศระดับกระทรวงอยู่เสมอๆ แล้วเมื่อต้องเป็นหน้าตาของประเทศก็ควรจะต้องมีความเป็นไทย"
นี่เป็นโจทย์คร่าวๆ ที่ อ. นิธิ สถาปิตานนท์ ได้บอกเล่าให้เราฟังเกี่ยวกับงานออกแบบชิ้นนี้ของเขา
กระทรวงต่างประเทศ เป็นอาคารในแบบไทยประยุกต์ที่เรียบง่าย แต่สวยสง่า ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนศรีอยุธยา ติดกับบริเวณพระราชวังสวนจิตลดา คอนเซ็ปท์ที่ทำให้แปลกกว่าอาคารโดยทั่วไปคืออาคารหลังนี้ถูกบังคับด้วยกฎหมาย ตัวอาคารจะสูงได้ไม่เกิน 23 เมตร เนื่องจากติดพระราชวัง บางส่วนจำเป็นต้องทำเป็นผนังตันปิดทึบหมด โดยเฉพาะในด้านที่ติดกับพระราชวัง และ จากข้อกำหนดที่ทำให้มีความสูงได้ไม่มากนี้ ตัวอาคารจึงต้องมีการแผ่กว้างออกไปเต็มพื้นที่ และในส่วนที่เป็นผนังทึบก็ต้องมีการดึงเอาแสงจากภายนอกเข้ามา โดยอาศัยการออกแบบให้มีหลังคากระจก หรือการเปิดพื้นที่ว่างทำเป็นคอร์ท
ในส่วนของแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นไทยของงานออกแบบอาคารกระทรวงต่างประเทศนั้น เริ่มต้นกันตั้งแต่การวางผังพื้นกันเลยทีเดียว ตัวอาคารมีการวางระบบแกน เหมือนเช่น สิ่งปลูกสร้างในสมัยโบราณ วัดวาอาราม หรือพระราชวังต่างๆ ที่ต้องมีแกนที่สัมพันธ์กับทิศ ซึ่งอาคารหลังนี้รับเอารูปแบบที่เรียบง่ายที่สุดเป็นหลังคาทรงจั่ว (โดยวัสดุที่ใช้เน้นเป็นวัสดุสมัยใหม่) มีระเบียงแก้ว ช่องประตู หน้าต่าง และโคมระย้าที่ยังเป็นองค์ประกอบที่สื่อถึงความเป็นไทย

ฟังก์ชั่นของอาคารประกอบไปด้วยส่วนธุรการและสำนักงาน ซึ่งในส่วนสำนักงานนี้จะมีห้องรับรองจำนวนมากอยู่ภายใน (มีการจัดประชุมหรือสัมมนาอยู่เป็นประจำ) มีห้องประชุม ที่จุคนได้ประมาณสองถึงสามร้อยคน และห้องรับรองขนาดใหญ่ ที่สามารถรองรับได้เป็นพันคน กับอีกส่วนหนึ่งที่จะมีการติดต่อกับบุคคลภายนอกโดยตรง อาทิเช่น ฝ่ายการเงิน ฝ่ายสารนิเทศ หรือฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำหรับการจัดงานแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก
http://www.hiclasssociety.com/art/arch-niti.htm
http://th.wikipedia.org/wiki

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น